ประวิติกีฬาExtream

ประวัติกีฬา Extreme Sports บุกโลก

เราเห็นภาพในทีวีที่เด็กในโลกตะวันตกเล่น skateboard บนพื้นที่เป็นคลื่น ตีลังกาผกโผนในอากาศ หรือไม่ก็วิ่งพุ่งลงจากเนินเขา หรือเล่นโดดข้ามตึกเหมือนภาพยนตร์ตำรวจจับขโมย หรือเล่นสกีบนหิมะด้วยเท้าเปล่า ฯลฯ กีฬาท้าทายอันตรายต่างๆ เหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกทีโดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ

กีฬา เช่น ฟุตบอล รักบี้ เทนนิส คริกเก็ต กำลังได้รับความนิยมลดลงในหมู่วัยรุ่นอังกฤษ เพราะกีฬาใหม่ๆ ที่เรียกว่า extreme sports (กีฬาที่โลดโผนสุดโต่งหรือเสี่ยงอันตราย) กำลังมาแทนที่ และดูทีท่าจะระบาดไปในผู้ใหญ่ด้วย
 extreme sports ใหม่ๆ เช่น canyoning (ปล่อยตัวให้ลื่นไหลตามกระแสน้ำในลำธารเหมือนเล่น slider) base jumpin (โดดลงมาจากตึกหรือหน้าผาโดยมีเชือกผูกติดคล้าย bungee jumping) และ wake-boarding (เล่นเสิร์ฟบนคลื่นที่จงใจสร้างขึ้นโดยใช้เชือกโยงตัวคนเล่นกับเรือยนต์ และปล่อยออกให้ surf บนคลื่นที่เกิดหลังเรือยนต์) กำลังจะมาบดบังกีฬาที่ได้รับความนิยมแต่ดั้งเดิม

จากการสำรวจในปี 2003 ของ New Research for Sport England (หน่วยงานให้บริการและเงินทุนเพื่อสนับสนุนกีฬาของอังกฤษ) พบว่า หนึ่งในเจ็ดของผู้ใหญ่เคยเล่นกีฬาที่ผจญภัยและเสี่ยงอันตราย สัดส่วนของผู้ใหญ่ที่เล่นกีฬาลักษณะนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างเป็นประจำเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวระหว่างปี 2001 ถึง 2003 และนับเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของการเล่นกีฬาทั้งหมด

ภาคเอกชนของเมืองต่างๆ ในอังกฤษจึงตอบสนองความต้องการเล่น extreme sports ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการสร้างสนามกีฬาสำหรับ extreme sports ขึ้นโดยเฉพาะ เมือง Middlesbrough จะสร้างบึงน้ำขนาดใหญ่สำหรับ surfing, wake-boarding, สกีน้ำ รวมทั้ง ร้านขายของ ที่พักอาศัย และสำนักงาน

เมือง Manchester กำลังสร้างศูนย์กีฬาผจญภัยที่เรียกว่า Venture Extreme มูลค่า 59,000 ล้านบาท โดยสร้างถ้ำและหน้าผา (เพื่อปีนป่าย คลานรอด) สร้างศูนย์เล่น surfing สร้างกำแพงน้ำแข็งให้ปีนป่าย ฯลฯ ภาคเอกชนในเมือง Cardiff ก็กำลังสร้างสถานที่เล่นกีฬาผจญภัยเกี่ยวกับน้ำ น้ำแข็ง และหิมะ มูลค่า 50,000 ล้านบาท

บริษัทใหญ่เครือ Extreme Group ของอังกฤษวางแผนจะเปิดศูนย์ extreme sports ในเมืองต่างๆ ให้เป็นสวนเล่นกีฬาชนิดที่เน้นการออกกำลังและการผจญภัยโดยเรียกว่า Ex Parks (ผู้ว่าฯ อภิรักษ์น่าริเริ่มสวนกีฬาแบบนี้ และปล่อยให้นายกฯ ทักษิณลงมาปราบมาเฟียโบ๊เบ๊ซึ่งเป็นชื่อมาเฟียพันธุ์ใหม่ที่โลกเพิ่งรู้จักไปแล้วกัน)

หน่วยงานของทางการอังกฤษดังที่เรียกว่า New Research for Sport England ถูกขอเงินอุดหนุนมากมายจากทั่วประเทศเพื่อสร้างกำแพงสำหรับปีนเล่น (ดังเช่นที่ไนท์บาซาเชียงใหม่ พัทยา หรือศูนย์การค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ) สวนเล่น skate หรือสนามเล่นกีฬาเกี่ยวกับหิมะหรือน้ำแข็งในร่ม ฯลฯ

งานวิจัยสำรวจความคิดเห็นประชาชนของ Brighton University พบว่าประชาชนมีความสนใจใน extreme sports ยิ่งขึ้นทุกวัน มีผู้ใหญ่ร้อยละ 12 (ประชากร 5.8 ล้านคน) ปรารถนาที่จะเล่น extreme sports ถึงแม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุร้ายแรงหรือตาย
งานวิจัยพบอีกว่า ในปัจจุบันมีผู้ใหญ่จำนวนมากที่ชอบ moutain biking (ขี่จักรยาน ภูเขา) เช่นเดียวกับตกปลา ขี่ม้า เล่นเรือใบ ยิงปืน นอกจากนี้ Canoeing (พายเรือแคนู) และ Kayaking (พายเรือลำยาวที่มีแผ่นเปิดตัวเรือ โดยพายล่องไปตามกระแสน้ำ) ก็มีจำนวนผู้นิยมใกล้เคียงกับตกปลาที่เป็นกีฬายอดนิยมทีเดียว



อะไรทำให้ผู้คนหันเหสู่กีฬาประเภท extreme sports ?
ในยุคของการปลดปล่อย (liberalization) การเล่นกีฬาที่มีกฎกติกาบังคับเป็นความกดดันอย่างหนึ่งที่คนจำนวนมากในยุคนี้ ไม่ชอบ extreme sports ให้ความตื่นเต้นแปลกใหม่แก่ชีวิต ชัยชนะขึ้นอยู่กับตนเอง และตนเองเป็นคนให้คำจำกัดความ (หากเล่นฟุตบอล ชัยชนะหมายถึงต้องยิงประตูมากกว่าเขา) เช่น ปีนเขาลูกใดสำเร็จ โดดข้ามตึกใด ฯลฯ และเป็นการหลีกหนีจากความจำเจแน่นอนของงานประจำในชีวิต และทำให้มี lifestyle (แบบแผนการดำเนินชีวิต) ที่เป็นพิเศษ โยงใยกับกีฬานั้นๆ

ตัวอย่างเช่น ขี่จักรยานภูเขาทำให้จำเป็นต้องมี lifestyle ชนิดที่ผูกพันกับธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร หรือการชอบปีนเขาในสถานที่แปลกใหม่ ทำให้มี lifestyle ของการเป็นผู้ชอบเดินป่าหรือกีฬา wake-boarding หรือดำน้ำทำให้เป็นผู้ชอบทะเล ชื่นชมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ยิ่งผู้คนเบื่อหน่ายกฎเกณฑ์กติกาไม่ว่าของที่ทำงานหรือของสังคมมากเท่าใด หรือเบื่อความจำเจของชีวิตมากเท่าใด โอกาสที่จะเล่นกีฬา extreme sports ก็มีมากเพียงนี้

มีงานสำรวจอีกชิ้นหนึ่งพบว่า เด็กอังกฤษวัย 11-14 ปี ชอบเล่นสเก๊ตแบบที่เป็นล้อ แถวเดียววิ่งเป็นวงร้อยละ 27 ชอบเล่น skateboarding ร้อยละ 21 ชอบขี่จักรยานภูเขา ร้อยละ 18 ชอบปีนเขา ร้อยละ 10 และชอบ snowboarding (แผ่นบอร์ดที่ลื่นไหลบนหิมะ) ร้อยละ 6 เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีกีฬาที่คนอังกฤษเล่นกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว เช่น ฟุตบอล รักบี้ หรือคริกเก็ต อยู่เลย

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ามนุษย์แคร์กับการมองของผู้อื่น เมื่อพรรคพวกของตนหรือกลุ่มสังคมที่ตนคุ้นเคยชื่นชอบกีฬาประเภทนี้และรู้สึกต่อต้านกฎเกณฑ์ร่วมกัน ตนเองก็จะถูกชักนำให้ ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ไปด้วย ดังนั้น ความนิยม extreme sports จึงขยายเป็นวงกว้างคู่ขนานไปกับยุค liberalization และ anti-institution (ต่อต้านสถาบัน)

กีฬาใหม่ล่าสุดของ extreme sports มีชื่อว่า parkour หรือ free running (วิ่งเสรี) เป็นการผสมผสานยิมนาสติก ปีนเขา และความกล้าบ้าบิ่น (ที่ปกติกระทำโดยพวกตัวแสดงแทนหรือ stuntmen) ผู้เล่นต้องกระโดดข้ามตึกใกล้เคียง ปีนป่ายสิ่งก่อสร้างในเมือง ที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแตกต่างกันออกไป (เช่น ไต่ข้างตึกสูง ไต่เสาสูง ฯลฯ) ขณะนี้เริ่มมีเล่นกันในลอนดอนและเมือง Edinburgh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น